เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวลาว ตอนที่ 2

ศิลปะการแสดง ฟ้อนดวงจำปา เป็นการแสดงฟ้อนต้อนรับแขกต่างบ้านต่างเมือง มีลีลาการฟ้อนที่อ่อนช้อยและมีเสน่ห์ นิยมนำดอกจำปาซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติมาร้อยเป็นพวงเพื่อใช้ในการแสดงด้วย https://dmc.tv/a18070

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 25 พ.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18279 ]

เป็น  อยู่  คือ...วิถีชาวลาว  ตอนที่  2

 

การแสดง  ฟ้อนดวงจำปา

ฟ้อนดวงจำปา

     เป็นการแสดงฟ้อนต้อนรับแขกต่างบ้านต่างเมือง  มีลีลาการฟ้อนที่อ่อนช้อยและมีเสน่ห์  นิยมนำดอกจำปาซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติมาร้อยเป็นพวงเพื่อใช้ในการแสดงด้วย

     พุทธศาสนาแบบเถรวาท  ศาสนาที่ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือ  เป็นเสมือนแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว  ทั้งในด้านภาษา  ศิลปะ  วรรณคดี  วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ทำให้ประเพณีวันสำคัญของลาวเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับไทย  ทุกๆเดือนในรอบปีจะมีการจัดงานบุญพื้นบ้านประเพณีเมืองกันเป็นประจำ  เรียกว่า  “ฮีตสิบสองครองสิบสี่”  จุดมุ่งหมายเพื่ออุทิศส่วนกุสลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับ  ตอบแทนบุญคุณธรรมชาติ  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  ที่ช่วยดลบันดาลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี  ซึ่งบางวันรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการด้วย  ได้แก่  วันมาฆบูชา  วันสงกรานต์  (บุญปีใหม่ลาว)  วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา

ประเพณีในวันสำคัญดังกล่าวกำหนดตามปฏิทินจันทรคติดังนี้

เดือน  3  วันมาฆบูชา

เดือน  5  วันสงกรานต์  (บุญปีใหม่ลาว)

เดือน  6  วันวิสาขบูชา

เดือน  8  วันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา

เดือน  9  วันบุญห่อข้าวประดับดิน

เดือน  10  วันบุญข้าวสากหรือบุญข้าวสลาก

เดือน  11 วันออกพรรษา

เดือน  12  วันบุญธาตุหลวง

     ฮีตสิบสอง  ฮีต  มาจากคำว่า  จารึต  หมายถึง  แบบแผนความประพฤติดีงามที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี  สิบสอง หมายถึง  เดือนทั่งสิบสองเดือนในรอบหนึ่งปีตามระบบจันทรคติ  โดยรวมจึงหมายถึง  ประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในโอกาสต่างๆ  ทั้งสิบสองเดือน  ครอบสิบสี่  หมายถึง  หลักธรรมหรือแนวทางปฏิบัติ  14  ข้อของพุทธศาสนิกชนคนลาวในการครองตนเป็นคนดี

 

ประเพณีวันสงกรานต์  (บุญปีใหม่ลาว)

ประเพณีวันสงกรานต์  (บุญปีใหม่ลาว)

     ชาวลาวถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่เช่นเดียวกับไทย  มีการจัดงานติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน  โดยวันแรกของงานเรียกว่า  “วันสังขารล่อง”  จะมีพิธีตามประเพณี  มีงานบายศรีสู่ขวัญ  งานก่อพระธาตุทราย  มีการแห่ขบวนของนางสังขาร  (เทียบได้กับเทพีสงกรานต์บ้านเรา)  และวันสุดท้ายเรียกว่า  “วันสังขารขึ้น”  ชาวลาวถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่  จะพากันไปทำบุญตักบาตร  ไหว้พระและเฉลิมฉลองกันตามประเพณี

 

ประเพณีบุญห่อข้าวประดับดิน

ประเพณีบุญห่อข้าวประดับดิน

     จัดขึ้นในวันแรม  14  ค่ำ  เดือน  9  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติทั้งหลาย  ชาวบ้านจะทำข้าวต้มมัดใส่กล้วยห่อใบตองเพื่อใส่บาตรในตอนเช้ามืด  นำอาหารคาวหวาน  ผลไม้  บุหรี่  หมาก  พลู  ใส่ลงในกรวยใบตองไปวางตามพื้นดินหรือใต้ต้นไม้บริเวณรั้วบ้าน  รั้ววัด  หรือตามทางแยก  เพื่อเป็นทานแก่ผีไร้ญาติ  ที่ต้องทำพิธีตอนเช้ามืดเพราะมีความเชื่อว่าผีสางจะได้กินอาหารก่อนแสงแดดส่อง  พอรุ่งเช้าชาวบ้านจึงค่อยตักบาตรแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ

 

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ

     จัดขึ้นในช่วงเดือน  6  เป็นประเพณีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลของชาวลาว  โดยการจุดบั้งไฟเพื่อของฝนจากพญาแถน  ซึ่งเป็นเจ้าแห่งฟ้าฝน  และยังเป็นสัญญาณว่าฤดูทำนากำลังจะเริ่มต้นขึ้นด้วย

 

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ

     ตรงกับวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  11  หรือวันออกพรรษา  ในวันนี้ชาวลาวจะตักบาตรเทโว  กวนข้าวทิพย์  ถวายผ้าจำนำพรรษาและปราสาทผึ้ง  (นำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท  ตกแต่งให้สวยงาม  แล้วแห่ไปถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ)  แล้วตกค่ำจึงมีการประดิษฐ์เรือประดับไฟล่องไปตามแม่น้ำ

     ที่เมืองหลวงพระบางจะมีประเพณีไหลเรือไฟและลอยกระทงในแม่น้ำคาน  ส่วนที่เมืองเวียงจันทน์จะมีการ  “ส่องเฮือ”  หรือขังเรือพายในตอนกลางคือ  โดยชาวลาวจะขังขันกันตกแก่งเรือด้วยเทียน  ตะเกียง  และใส่ดอกไม้  ธูป  เทียน  ขนม  เงิน  ติดธงอย่างสวยงาม  เพื่อเป็นการต้อนรับพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  เป็นการบูชาพญานาคที่เชื่อกันว่าจะปรากฏกายในรูปของลูกไฟ  (ทางอีสานเราเรียก  บั้งไฟพญานาค)

ตีคลี

     นิยมเล่นกันในงานประเพณีนมัสการพระธาตุหลวง  คือมีการหาลูกคลีและแข่งเล่นคลี  เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่ครั้งสร้างพระธาตุหลวงขึ้น  ถือเป็นกีฬาคู่กับงานบุญนมัสการพระธาตุหลวงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  เพื่อเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสามัคคี  โดยจะเป็นการแข่งกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายประชาชน  มีความเชื่อว่า  หากฝ่ายรัฐบาลชนะจะทำให้ประชาชนทุกข์ยากไปตลอดปี  แต่หากฝ่ายประชาชนชนะ  บ้านเมืองก็จะอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณและธัญญาหาร

 

การละเล่น ตีคลี

     อุปกรณ์ในการเล่นคลี  ได้แก่  ไม้สำหรับตีคลี  ซึ่งทำจากตอไม้ไผ่ขนาดความยาว  1  เมตร  ส่วนปลายของไม้งอนขึ้นเล็กน้อย  (คล้ายไม้ฮอกกี้)  ลูกคลีทำจากไม้ทองหลาง  มีน้ำหนักเบา  กลึงให้กลมขนาดลูกมะนาว  โดยปักเสาไว้เป็นประตู  แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย  ฝ่ายละ  4 – 5  คน  วิธีการเล่นเหมือนฟุตบอล  ฝ่ายใดสามารถตีลูกลงหลุมคลีหรือเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ

การแต่งกายประจำชาติลาว

     ผู้หญิง  นุ่งผ้าซิ่นและใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก

     ผู้ชาย  มักแต่งกายแบบสากล  หรือนุ่งโจงกระเบน  สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด  คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

     ผ้าซิ่น  เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของลาวที่กลายเป็นเครื่องแบบนักเรียนด้วย  เด็กนักเรียนผู้หญิงชาวลาวจะนุ่งผ้าซิ่นสีดำยาว  คลุมน่อง  ใส่เสื้อนักเรียนสีขาว  เกล้าหรือรวบผมเป็นมวย  รองเท้านักเรียนสีดำ  ส่วนเครื่องแบบของนักเรียนชายคล้ายนักเรียนไทยแตกต่างกันตรงกางเกงที่สวมเป็นกางเกงขายาวสีดำสนิท

     ชาวลาวมีวัฒนธรรมการกินที่เรียบง่าย  เพียงแค่มีข้าวเหนียวและกับข้าว  ปรุงอย่างง่ายๆ ไม่กี่อย่าง  เช่น  ปลาร้า  ปลาปิ้ง  น้ำพริก  ผักพื้นเมือง  ใส่พาข้าว  (คล้ายขันโตทางเหนือของไทย)  แล้วนั่งล้อมวงปูสาด  (เสื่อ)  ก็จกข้าวเหนียวกินกันได้อย่างเอร็ดอร่อย

     ตัวอย่างสำรับอาหารลาวที่มักจัดใส่พาข้าวและรับประทานกันอย่างแพร่หลาย  คือ

 

อาหาร   ลาบ

ลาบ

     มีส่วนผสมและการปรุงคล้ายลาบทางอีสานของไทย  ส่วนผสมมักเป็นผัก สมุนไพร  นิยมทำลาบปลา  ลาบไก่  ลาบเป็ด  ส่วนลาบเนื้อมักทำในงานบุญหรืองานใหญ่

 

อาหาร  แจ่ว  (หรือน้ำพริก)

แจ่ว  (หรือน้ำพริก)

     เป็นอาหารที่ต้องขึ้นพาข้าว  มีทั้งแจ่วพริกสด  แจ่วหมากเลน  (ใส่มะเขือเทศ  พริก  ปลาร้า)  หรือหากจะจิ้มเนื้อสัตว์ก็อาจผสมกระเทียม  หอม  ตะไคร้  ไปด้วย

 

 อาหารดอง   ส้มจิ๊น


อาหารดอง

     คนลาวมักเรียกอาหารดองว่า  ส้ม  เช่น  ส้มผักกาด  ส้มจิ๊น  (แหนมวัว)  ส้มไข่ปลา

 

     วงดนตรีของลาวคือวงหมอลำและหมอแคน  โดยมีท่วงทำนองการขับลำแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น  ทางภาคเหนือเรียกว่า  ขับ  ภาคใต้จากบอลิคำไซลงไปเรียกว่า  ลำ  เช่น  ขับงึมเวียงจันทน์  ขับพวนเชียงขวาง  ลำสาละวัน  ลำภูไท  ลำตังหวาย  เป็นต้น

เครื่องดนตรีประจำชาติลาว  คือแคน

แคน

     เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติลาว  ทำจากไม้ซางขนาดต่างๆประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน  มีลิ้นโลหะ  เสียงเกิดจากลงผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน  การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออก  บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย

     นอกจากแคนจะใช้บรรเลงเป็นวงแล้วยังใช้บรรเลงประกอบการลำ  (การขับร้อง)  หรือใช้บรรเลงร่วมกับพิณ  โปงลาง  อีกด้วย

 

   การแสดง หมอลำ  ประเทศลาว

หมอลำ

     เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย  แบ่งได้เป็นหลายอย่าง  ตามลักษณะทำนองของการลำ  เช่น  ลำเต้ย  ลำกลอน  ลำเรื่อง  ลำเพลิน  ลำซิ่ง

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับเป็น อยู่ คือ... วีถีชาวลาว ตอนที่ 2

 

อาเซียน 10 ประเทศ

ลาวหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ทำเลที่ตั้ง  ของประเทศลาว

ปกบ้านครองเมือง  ของประเทศลาว

ทำมาค้าขาย และเป็น อยู่ คือ...วิถีชาวลาว


http://goo.gl/ZcljMD


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related